คลินิกฝังเข็ม รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี การฝังเข็มคืออะไร การฝังเข็ม คือการแทงเข็มลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างกาย ซึ่งอยู่เส้นลมปราณ โดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผนจีน เพื่อเป็นการปรับปรุงดุลยภาพร่างกาย
การฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร ภายในร่างกายของคนเรา จะมีเลือดและลมปราณไหลหมุนเวียนไปตามเส้นลมปราณต่าง ๆ ที่กระจ่ายอยู่ทั่วทั้งร่างกาย เป็นพลังงานผลักดันให้อวัยวะต่าง ๆ สามารถเคลื่อนไหวทำงานได้ และทำงานประสาทสอดคล้องกันได้เป็นอย่างดี ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ เมื่อมีเหตุให้การไหลเวียนของเลือดลมปราณติดขัด ร่างกายก็จะเกิดการเสียสมดุลกับธรรมชาติ มีอาการของโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น บรรพบุรุษชาวจีนในยุคโบราณได้ค้นพบว่า การใช้เข็มปักลงไปยังจุดบางตำแหน่งในร่างกาย สามารถกระตุ้นลมปราณให้ไหลเวียนต่อไปได้โดยไม่ติดขัด จึงทำอวัยวะที่ทำงานผิดปกติไปนั้นกลับคืนสู่สภาพปกติ สามารถขจัดปัจจัยที่ก่ออันตรายแก่ร่างกายออกไป จากนั้นความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นก็จะหายไปได้ ตามแนวคิดของการแพทย์แผนโบราณจีนนั้น การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 3 ประการ คือ 1.แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด 2.ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุล 3.กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย
ฝังเข็มสามารถรักษาโรคอะไรได้บ้าง ประโยชน์ของการฝังเข็ม สามารถรักษาโรคได้มากมาย (ตามที่องค์การอนามัยโลกรับรองมี 58 มีโรค) อาทิ กลุ่มอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดคอ ปวดไหล ปวดหลัง ปวดท้อง ปวดสะโพก ปวดขา กลุ่มอัมพาต อัมพฤกษ์ ซึ่งมีรายงานว่า การฝังเข็มร่วมกับนวดและกายภาพบำบัด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วยได้ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กลุ่มอาการทางอายุรเวชและสูตินรีเวช เช่น โรคกระเพาะ ปวดประจำเดือน วิงเวียนจากน้ำในช่องหูไม่เท่ากัน ท้องผูกและการปรับดุลยภาพต่าง ๆ
การฝังเข็มทำอย่างไร เจ็บหรือไม่ ในขณะที่เข็มผ่านผิวหนัง จะมีอาการเจ็บคล้ายมดกัด และเมื่อเข็มแทงลึกลงไปถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะมีอาการปวดตื้อ ๆ หน่วง ร้าวไปตามทางเดินของลมปราณ
เข็มที่ใช้ในการฝัง ใช้ครั้งเดียวหรือไม่ เข็มที่ใช้ในการฝังที่คลินิกฝังเข็ม รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี เป็นเข็มพิเศษผลิตเพื่อการฝังเข็มโดยเฉพาะ สะอาดปราศจากเชื้อใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้อีกโดยเด็ดขาด
ข้อควรทราบเกี่ยวกับการรับบริการฝังเข็ม
ก่อนฝังเข็ม ทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อยรับประทานอาหารตามปกติก่อนฝังเข็มเสมอ เพราะถ้าฝังเข็มในขณะอ่อนเพลีย หรือท้องว่างจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่ายสวมเสื้อผ้าที่ไม้รัดแน่น ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกง ที่สามารถรุดขึ้นเหนือเข่าได้สะดวกเข้าห้องน้ำ ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเพื่อให้ไม่เกิดการปวดปัสสาวะขณะฝังเข็ม
ขณะฝังเข็ม การอยู่ในลักษณะผ่อนคลาย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบลมปราณและปรับสมดุลร่างกายถ้ามีความรู้สึกผิดปกติ เช่น มีอาการหน้ามืด เป็นลมต้องแจ้งแพทย์ทราบทันที
หลังการฝังเข็ม ดื่มน้ำ 1 แก้ว หลังการฝังเข็มเสร็จหลังการเสร็จสิ้นจากการรักษา โดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อห้ามเป็นพิเศษอะไรเลย ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหาร อาบน้ำ ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติอาจมีอาการเมื่อยหรือล้า บริเวณที่ฝังเข็ม แขน ขา ประมาณ 10-30 นาที เป็นเรื่องปกติไม่ควรขับขี่ยวดยานพาหนะทันทีหลังการฝังเข็มเพราะอาจเกิดการง่วงนอน
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
1. ไม่ทำการฝังเข็มในผู้ป่วยดังต่อไปนี้ตั้งครรภ์ยังไม่ครบกำหนด 2. โรคเลือดหรือมีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด 3. โรคเร่งด่วนที่ต้องการรักษาโดยการผ่าตัด 4. โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์
รักษาติดต่อกันนานเท่าไร ควรรับการรักษาสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 ครั้ง แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ โรคเรื้อรังอาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น การรักษาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 20-3
|